วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)

เมื่อเร็วๆนี้ เราคงได้ยินหรือได้เห็นข่าวครึกโครมทางหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ ทางข่าวทีวี ทางสื่อโชเชี่ยลมีเดียทั้งหลาย เกี่ยวกับหญิงสาวรายหนึ่งขับรถชนรถคันอื่น 4 คันรวด แถวย่านวังหินลาดพร้าว แล้วปีนอออกจากรถมาในลักษณะเปลือยกาย ทำท่าทางเต้นรำ จนชาวบ้านที่เป็นผู้หญิงด้วยกันทนดูไม่ได้ต้องหาวิ่งหาเสื้อผ้ามาปกปิดแทบไม่ทัน ผู้เห็นเหตุการณ์ต่างเล่าว่าไม่ใช่ลักษณะของคนเมาสุรา ต่อมาญาติได้มารับตัวและบอกกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าผู้ก่อเหตุมีอาการป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
 เพื่อให้เกิดความกระจ่างเรามาลองทำความรู้จักกับโรคนี้พอสังเขปนะครับ
โลกเราทุกวันนี้ มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำให้คนเราเกิดความเครียดได้ง่าย และนำมาซึ่งโรคต่างๆ ทางจิตเวช อย่างเช่น โรควิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งพวกเราอาจพอคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว ไม่เหมือนอย่างโรคไบโพลาร์ ซึ่งแม้จะไม่ได้เกิดจากความเครียดโดยตรง แต่ความเครียดก็เป็นปัจจัยกระตุ้น เหมือนการกินน้ำตาลมากในผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเบาหวาน
                ไบโพลาร์ คือ โรคที่มีความผิดปกติของอารมณ์เป็น 2 ขั้ว มีทั้งช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania) และบางช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (depressed) ฉะนั้นเดิมจึงเรียกโรคนี้ว่า manic-depressive disorder แต่บางคนมีอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติอย่างเดียว โดยไม่มีอารมณ์ซึมเศร้าก็ได้
                โรคนี้พบได้ในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 3 ซึ่งนับว่าบ่อยทีเดียว พบได้อัตราเท่ากันทั้งหญิงและชาย โดยมักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่วัยต้น
                                                                      ไบโพลาร์เกิดได้อย่างไร
                โรคนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่น จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไป ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือความเครียดมักเป็นเพียงปัจจัยเสริมและถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาการต่างๆ อาจจะดีขึ้นเองได้ในบางคน แต่ต้องใช้เวลานาน และกว่าอาการจะดีขึ้น ก็ส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง บางคนก่อหนี้สินมากมาย บางคนใช้สารเสพติด บางคนต้องออกจากงานหรือโรงเรียน บางคนทำผิดกฎหมาย และที่รุนแรงที่สุด คือฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น และถ้าเป็นหลายๆ ครั้ง อาการครั้งหลังจะเป็นนานและถี่ขึ้น
อาการของโรคมี 2 ช่วง คือ
                1.ช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้า
                                - มีอาการเบื่อหน่ายท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร
                                - มองทุกอย่างในแง่ลบ
                                - เรี่ยวแรงลดลง
                                - มีความคิดอยากตาย ซึ่งมีไม่น้อยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย
                2.ช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าว
                                - เชื่อมั่นในตนเองมาก รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก
                                - เรี่ยวแรงเพิ่ม นอนน้อยกว่าปกติ โดยไม่มีอาการเพลีย
                                - พูดเร็ว พูดมาก หรือพูดไม่ยอมหยุด
                                - ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง
                                - สมาธิลดลง เปลี่ยนเรื่องพูดหรือทำอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อสิ่งเร้าง่าย ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                - มีกิจกรรมมากผิดปกติ อาจเป็นแผนการหรือลงมือกระทำลงจริงๆ แต่มักทำได้ไม่ดี
                                - การตัดสินใจไม่เหมาะสม เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย
ทางเพศ บางคนจะหงุดหงิดก้าวร้าวจนถึงทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการของโรคจิตร่วมด้วยหลายคนอาจสงสัยว่า ในคนปกติก็ต้องมีการขึ้นลงของอารมณ์มากบ้างน้อยบ้างตามนิสัย แล้วเมื่อไหร่จึงเรียกว่าผิดปกติหรือเป็นโรคการจะบอกว่าป่วยแน่นอนต้องใช้เกณฑ์การวินิจฉัยจากแพทย์ แต่ทั่วไปเราควรนึกถึงโรคนี้และไปปรึกษาแพทย์เมื่อ
                                - การขึ้นลงของอารมณ์มากกว่าคนทั่วไป หรือมากกว่าปกติของคนนั้น เป็นเวลาติดต่อกันนาน 4-7 วัน
                                - มีความผิดปกติของการกินการนอนร่วมด้วย

                                - กระทบต่อการทำงานหรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง                                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น